เมนู

ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์
แล้ว จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่
รักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่เจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุมีที่เคารพ มีที่ยำเกรง มีความประพฤติ
เสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้
บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริก-
วัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็น
ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์แล้ว จักรักษา
ศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุรักษาศีลขันธ์ให้
บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่
ภิกษุเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น
เป็นฐานะที่จะมีได้.
จบทุติยคารวสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยคารวสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยคารวสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่าสีลกฺขนฺธํ ได้แก่กองศีล. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือน
กัน. แต่ตรัสขันธ์แม้ 3 อย่างเหล่านี้เจือกัน.
จบอรรถกถาทุติยคารวสูตรที่ 2

3. อุปกิเลสสูตร


ว่าด้วยเรื่องอุปกิเลส 5


[23] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ซึ่งเป็นเหตุให้
ทองมัวหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่อง
ประดับไม่ได้ มี 5 ประการ 5 ประการเป็นไฉน คือ เหล็ก 1 โลหะ 1 ดีบุก 1
ตะกั่ว 1 เงิน 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง 5 ประการ
นี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ทองมัวหมองแล้ว ย่อมไม้อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส
เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้ เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง 5
ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ได้
คือ ช่างทองต้องการเครื่องประดับชนิดใด ๆ เช่น แหวน ต้มหู สร้อยคอ
สังวาล ก็ทำได้ตามต้องการ ฉันใด อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้า
หมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องไส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ
เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็มี 5 ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน อุปกิเลส
5 ประการเป็นไฉน คือ กามฉันทะ 1 พยาบาท 1 ถีนมิทธะ 1
อุทธัจจกุกกุจจะ 1 วิจิกิจฉา 1 อุปกิเลสแห่งจิต 5 ประการนี้แล ซึ่งเป็น
เหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว
ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ แต่เมื่อใด จิตพ้นจาก
อุปกิเลส 5 ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผ่องใส ทนทาน ตั้งมั่นโดยชอบ
เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ และภิกษุ จะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อธรรม
เครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในธรรมนั้น ๆ โดยแน่
นอน.